คดีค่าโง่ทางด่วนบูรพาวิถี

อีกหนึ่งมหากาพย์ ‘ค่าโง่’ ที่ต่อสู้ยืดเยื้อกันมาถึง 16 ปี  และเป็นอีกบทบาทด้านการตรวจสอบของ ‘พีระพันธุ์’ ในชั้นสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ที่สามารถปกป้องเงินภาษีประชาชนใน ‘คดีทุจริตโครงการก่อสร้างทางด่วนสายบางนา-บางปะกง (ทางพิเศษบูรพาวิถี)’   ซึ่ง“พีระพันธุ์” ได้ทำการสอบสวนอย่างยาวนานกว่าหนึ่งปี แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าเพราะอัยการสามารถนำผลการสอบสวนไปเป็นพยานหลักฐานต่อสู้คดีในศาลจนชนะคดีในที่สุด  และทำให้รัฐไม่ต้องจ่าย “ค่าโง่” รวมดอกเบี้ยอีกเกือบหมื่นล้านบาท

ย้อนรอยค่าโง่ทางด่วนบูรพาวิถี

ปี 2538
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ว่างจ้างกิจการร่วมค้าบีบีซีดี และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง วงเงินตามสัญญา 25,000 ล้านบาท

ปี 2543
กิจการร่วมค้าและบริษัท ช.การช่าง เรียกร้องให้ กทพ. ชำระเงินค่าคงที่ที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาอีกจำนวน 6,000 ล้านบาท และได้ยื่นข้อเรียกร้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยหลังการทางพิเศษฯ ปฏิเสธที่จะจ่ายเงิน

ปี 2544
อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ กทพ. ชำระเงินจำนวน 6,000 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5% ต่อปีของเงินต้นดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2543 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามที่เรียกร้อง แต่ กทพ. ปฏิเสธคำชี้ขาดดังกล่าวตามมติคณะรัฐมนตรี

ปี 2545
กิจการร่วมค้าบีบีซีดี และ บริษัท ช.การช่าง ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ให้พิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาให้ฝ่ายกิจการร่วมค้าบีบีซีดี ชนะคดีและให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ

กทพ. ส่งเรื่องให้สำนักงานคดีแพ่ง สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นทนายความแก้ต่างยื่นคัดค้านคำพิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ดังกล่าวไปยังศาลฎีกาตามขั้นตอนของกฎหมาย

ปี 2549
ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ กทพ. ชนะคดีไม่ต้องจ่ายเงินจำนวน 6,000 ล้านบาท ให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีซีดี โดยวินิจฉัยว่าการทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างทางด่วนเกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพัน กทพ.

ปี 2551
กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีซีดี ได้ยื่นฟ้อง กทพ. เป็นคดีใหม่ต่อศาลแพ่งในมูลคดีลาภมิควรได้ทุนทรัพย์ 9,600 ล้านบาท และมีพนักงานอัยการ สำนักงานคดีแพ่งได้แก้ต่างให้กับ กทพ.

ปี 2555
ศาลแพ่งพิพากษาให้ กทพ. แพ้คดีต้องชำระเงินจำนวน 5,000 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีซีดี และให้ กทพ. ชำระค่าฤชาธรรมเนียมพร้อมค่าทนายความแทนกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีซีดีอีก 300,000 บาท

พนักงานอัยการ สำนักงานคดีแพ่ง จึงยื่นอุทธรณ์ให้กับการทางพิเศษฯ คัดค้านคำพิพากษาศาลแพ่ง

ปี 2551
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ยกฟ้องกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีซีดีค่าฤชาธรรมเนียม

ปี 2556
กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีซีดีได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว

ปี 2560
ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์โดยให้ยกฟ้องคดี เนื่องจากการทำสัญญาก่อสร้างทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี เกิดจากกระทำโดยไม่สุจริตไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ผูกพัน กทพ. ถือว่าสิ้นสุดแล้ว ส่งผลให้ กทพ. ชนะคดีไม่ต้องจ่ายเงินจำนวน 9,600 ล้านบาท

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้